วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สารเสพติด




สารเสพติดและผลต่อร่างกาย

                สารเสพติดทุกชนิดล้วนเป็นมหันต์ภัย เพราะทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทำลายความสงบสุขของครอบครัวและสังคม การหลีกเลี่ยงจากสารเสพติดจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ตนเอง ครอบครัว และสังคม มีความแข็งแรง ปลอดภัย และสงบสุข
ความหมายของสารเสพติด
                องค์การอนามัยโลกให้ความหมายของสารเสพติดไว้ว่า สารเสพติด หมายถึง สิ่งที่รับเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นการรับประทาน ฉีด สูบ หรือดมติดต่อกันชั่วระยะหนึ่งแล้วมีผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ ดังนี้
                1. มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพต่อไปเรื่อย ๆ
                2. มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสารเสพติดให้มากขึ้น
                3. เมื่อถึงเวลาต้องการเสพแล้วไม่ได้เสพจะเกิดอาการอยากยา โดยแสดงออกในลักษณะ ต่าง ๆ เช่น หาว อาเจียน น้ำหูน้ำตาไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง ขาดสติ โมโห ฉุนเฉียว เป็นต้น
                4. ผู้ที่ใช้สารเสพติดเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
การแบ่งประเภทของสารเสพติดตามการออกฤทธิ์
1.  ออกฤทธิ์แบบผสมผสาน ผู้เสพในระยะแรก จะมีอาการแบบหนึ่ง  สักพักก็จะมีอาการเปลี่ยนไปจากเดิม สารนี้จะพบในกัญชา
2.  ออกฤทธิ์กดประสาท ผู้เสพจะรู้สึกไม่อยากทำงาน เฉื่อยชา อ่อนเพลีย สารนี้จะพบในฝิ่น เฮโรอีน เหล้าแห้ง สารระเหย
3. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ผู้เสพจะรู้สึกสดชื่น อยากทำงาน กระตือรือร้น สารนี้จะพบในยาบ้า ยาอี โคเคน ใบกระท่อม
4.  ออกฤทธิ์หลอนประสาท ผู้เสพจะรู้สึกเพ้อฝัน สะลึมสะลือ สารนี้จะพบในแอลเอสดี  เห็ดขี้ควาย
สารเสพติดในประเทศไทย
          สารเสพติดให้โทษมีมากมายหลายประเภท สำหรับประเทศไทยสารเสพติดที่รู้จักกันดี ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา กระท่อม ยาบ้า เอ็คตาซี (ยาอี) สารระเหย
สาเหตุที่ทำให้ติดสารเสพติด
สาเหตุสำคัญของการติดสารเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นมักเกิดจาก
          1. การถูกชักชวน มักจะเกิดกับเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัว ขาดความอบอุ่น เชื่อเพื่อน อาศัยเพื่อนเป็นที่พึ่ง
          2. การอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น โดยมีความคิดว่าจะไม่ติดง่าย ๆ แต่เมื่อทดลองเสพเข้าไปแล้วมักจะมีความคิดอยากกลับมาเสพอีก
          3. การถูกหลอกลวง ผู้ถูกหลอกลวงไม่ทราบว่าเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง คิดว่าไม่มีพิษร้ายแรง ผลสุดท้ายก็กลายเป็นผู้ติดสารเสพติด
          4. สาเหตุทางกาย ผู้เสพต้องการบรรเทาความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้องถูกผ่าตัดหรือเป็นโรคปวดศีรษะ โรคมะเร็ง จึงหันเข้าหาสารเสพติดจนติดยาในที่สุด
          5. ความคึกคะนอง ต้องการแสดงความเด่นดังอวดเพื่อน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้ติดสารเสพติดในที่สุด
          6. สิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งชุมชนแออัด แหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด หรือสภาวะทางเศรษฐกิจบีบคั้นจิตใจ โดยคิดว่าจะช่วยให้ตนเองหลุดพ้นจาก ภาพต่าง ๆ เหล่านั้นได้
     บุหรี่และแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ทำให้ปอดถูกทำลายเนื่องจากในควันบุหรี่มีส่วนประกอบทางเคมีที่ให้โทษ
หลายอย่าง ดังนี้
        คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นแก็สที่ซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และกันไม่ให้แก็สออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้ต้องหายใจเร็วขึ้น ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นด้วย
        ทาร์ และสารอื่น ๆ ที่อยู่ในควันของยาสูบ ทำให้ปอดระคายเคือง หากมีควันไอมาก จะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น
        นิโคติน เป็นสารพิษ ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง หัวใจสูบฉีดเลือดได้ยากขึ้น
ตารางแสดงความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือด
กับอาการของผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือด  มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร/(mg/cm3)
ลักษณะอาการ
ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ดื่ม
50 150
เมาน้อย
- ประสิทธิภาพการมองเห็น และการทำงาน
ร่วมกันของกล้ามเนื้อต่ำลงเล็กน้อย
- การตัดสินใจเริ่มช้าลง
150 300
เมาปานกลาง
- ประสิทธิภาพการมองเห็นต่ำลงมาก ระบบ
ควบคุมการทำงานของระบบประสาทลดลง
- การตัดสินใจช้าลง พูดไม่ชัด

300 500
เมามาก
- ตามีอาการพร่ามัว หรือเห็นภาพซ้อน
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อุณหภูมิในร่างกายต่ำ
- แขนและขาเกิดอาการเกร็ง
มากกว่า  500
รุนแรง
- ไม่รู้สึกตัว หายใจช้า การตอบสนองลดลง
- การควบคุมการทำงานของระบบประสาท
เสื่อมลง และอาจตายได้